ปุจฉา…ขอเรียนสอบถามว่า กรณีได้รับเงินจากกองทุนสำรองเลี้ยงชีพสะสมมา แล้วจะนำมายื่นเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ได้รับคำแนะนำให้กรอกช่องเงินได้ที่จ่ายให้ครั้งเดียวที่มีวิธีการคำนวณแตกต่างไปจากเงินบำเหน็จฯ ข้าราชการ เช่นนี้ถูกต้องหรือไม่ครับ เพราะมันมีช่องเงินได้ที่ได้รับจากกองทุนสะสมคำพูดจาก สล็อตเว็บตรง

วิสัชนา…เงินได้ที่ได้รับจากกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ ที่จะถือเป็นเงินได้ที่นายจ้างจ่ายให้ครั้งเดียวเพราะเหตุออกจากงานที่ต้องคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาตามมาตรา 48 (5) แห่งประมวลรัษฎากร ประกอบกับประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 45) ได้นั้น ต้องมีอายุงานตั้งแต่ 5 ปีบริบูรณ์ขึ้นไป
คำพูดจาก สล็อตเว็บตรง

แต่ถ้าอายุงานไม่ครบ 5 ปีบริบูรณ์ ก็ให้ถือเป็นเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 (1) แห่งประมวลรัษฎากร ที่มีสิทธิหักค่าใช้จ่ายเป็นการเหมาเพียง 50% แต่ไม่เกิน 100,000 บาท โดยต้องนำไปรวมคำนวณกับเงินได้ตามมาตรา 40 (1) แห่งประมวลรัษฎากร ที่ได้รับตามปกติด้วย

ปุจฉา… เกี่ยวกับการยื่นภาษีบุคคลธรรมดาของรางวัลปีใหม่ ทางบริษัทฯ มีการจัดงานปีใหม่ประจำปี และมีการนำชื่อพนักงานที่ทำงานมาจับสลากของรางวัลปีใหม่ เช่น ทีวี ตู้เย็น เครื่องซักผ้า ครับ และในปีนี้ผมเป็นหนึ่งในผู้โชคดีที่ได้ของรางวัลจากการจับสลากงานปีใหม่ของบริษัท บริษัทฯ มีการหักภาษี ณ ที่จ่าย 5% จึงขอทราบว่า ต้องนำมารวมเป็นรายได้ และเครดิตภาษีตอนยื่นภาษีบุคคลธรรมดาใช่ไหมครับ

วิสัชนา… กรณีพนักงานได้รับรางวัลจากการจัดงานปีใหม่อันเป็นสวัสดิการพนักงาน โดยการจับสลากเพื่อมอบรางวัลให้แก่พนักงาน (ผู้โชคดี) นั้น รางวัลที่ได้รับดังกล่าว เข้าลักษณะเป็นเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 (1) แห่งประมวลรัษฎากร ไม่ใช่รางวัลจากการประกวดแข่งขันหรือชิงโชค ที่ให้แก่บุคคลทั่วไป จำนวนเงินได้พึงประเมิน ได้แก่ มูลค่าทรัพย์สินในวันที่ได้รับ ได้แก่ มูลค่าตามที่บริษัทฯ ซื้อหามา โดย พนักงานผู้โชคดี ที่ได้รับเงินได้ดังกล่าว ต้องนำเงินได้ไปรวมคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาประจำปี ตามแบบ ภ.ง.ด.91 ถูกต้องแล้วครับ.

By admin